วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

     บันทึกอนุทิน
                                                                  ครั้งที่  4
                วัน พุธ ที่  8  เดือน  กุมภาพันธ์ 2560

ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)

                   เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
                   เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
                   ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD
                   ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
                   กรรมพันธุ์
1.               ด้านการอ่าน 
(Reading Disorder)
  1. หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  3.  ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
                   อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
                   อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
                   เดาคำเวลาอ่าน
                   อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
                   อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
                   ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
                   ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
                   เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน 
(Writing Disorder)
                   เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
                   เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพณี
                   เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สถิติ
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
                   ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
                   เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
                   เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน
     เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9
                   เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
                   เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
                   เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
                   จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
                   สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
                   เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
                   เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
                   ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3. ด้านการคิดคำนวณ 
(Mathematic Disorder)
                   ตัวเลขผิดลำดับ
                   ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
                   ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
                   แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
                   ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
                   นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
                   คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
                   จำสูตรคูณไม่ได้
                   เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
                   ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
                   ตีโจทย์เลขไม่ออก
                   คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
                   ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4.              หลายๆ ด้านร่วมกัน




                   แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
                   มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
                   เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
                   งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
                   การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
                   สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
                   เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
                   ทำงานช้า
                   การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
                   ฟังคำสั่งสับสน
                   คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
                   ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
                   ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
                   ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
                   ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

                                                                          "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 


การนำไปประยุกต์ใช้
 ใช้ในอนาคตได้ในการสอนเพื่อที่จะได้ทราบความต้องการของเด็กพิเศษการดูแลและการรับมือ
ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนสนุกมีตัวอย่าง
ประเมินเพื่อน เพื่อน   ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตัวเอง  ตั้งใจฟังและบันทึกตาม





วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

  


      บันทึกอนุทิน
                     ครั้งที่  3
                     วัน พุธ ที่  25 เดือน มกราคม 2560

   ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(
Children with Speech and Language Disorders)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (
Articulator Disorders)
                  เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
                  ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
                  เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
                  เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
                  พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
                  การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
                  อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
                  จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
                  เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
                 
3. ความบกพร่องของเสียงพูด
(
Voice Disorders)ความบกพร่องของระดับเสียง
                  เสียงดังหรือค่อยเกินไป
                  คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา 

หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย
ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1.            การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย             (Delayed Language)

มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
ไม่สามารถสร้างประโยคได้
มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ


2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia หรือ aphasia
                  อ่านไม่ออก (alexia)
                  เขียนไม่ได้ (agraphia )
                  สะกดคำไม่ได้
                  ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
                  จำคำหรือประโยคไม่ได้
                  ไม่เข้าใจคำสั่ง
                  พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
                  Gerstmann’s syndrome
                  ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
                  ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
                  คำนวณไม่ได้ (acalculia)
                  เขียนไม่ได้ (agraphia)
                  อ่านไม่ออก (alexia)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
                  ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง
                  ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
                  ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
                  หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
                  ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
                  หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
                  มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
                  ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย



5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
 (Children with Physical and Health Impairments)



                  เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน

                  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
                  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
                  มีปัญหาทางระบบประสาท
                  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)
                  เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
                  มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
                  อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
                  มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
                  เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
                  เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
                  เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู
3.อาการชักแบบ Partial Complex
                  มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
                  เหม่อนิ่ง 
                  เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
                  หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
                  เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก



5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
                  เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น




การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
                  จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
                  ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
                  หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
                  ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
                  จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
                  ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
                  ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

ซี.พี.
(
Cerebral Palsy)





                   การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
                   การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
                   spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
                   spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
                   spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน

                   spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว





2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
(
athetoid , ataxia)
                   athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
                   เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
                   เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
                   จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

                   ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
                   กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ








                                                   โปลิโอ (Poliomyelitis)



โรคกระดูกอ่อน
 (Osteogenesis Imperfeta)






                                          Nick Vujicic


ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
                   มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
                   ท่าเดินคล้ายกรรไกร
                   เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
                   ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
                   มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
                   หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
                   หกล้มบ่อย ๆ
                   หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ



การนำไปประยุกต์ใช้               นำไปสอนจริงๆได้กับเด็กในการเรียนการสอนรู้ถึงวิธีการดูและการสอนการป้องกันในหลายๆเนื้อหาที่เรียนไปในคาบนี้

ประเมินอาจารย์           อาจารย์สอนดีมีการยกตัวอย่างและคลิปวิดีโอ
ประเมินเพื่อน              เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังและตั้งใจเรียน
ประเมินตัวเอง             เรียนไปก็จดไปดูคลิปที่อาจารย์เอามาให้ดูเป็นการเรียนที่เห็นภาพได้ชัดเจน